สำหรับภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Administration of Faculty of Education Srinakharinwirot University) ตั้งอยู่ที่อาคาร 12 ชั้น 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอยสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 URL : http://cms.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=5089 e-mail edu@swu.ac.th ได้กำหนดปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยให้คณาจารย์ทุกคนและนิสิตมีส่วนร่วม มีการจัดทำ SWOT วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของการดำเนินงานภาควิชาฯ ทำให้สามารถกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยแผนงานด้านการเรียนการสอน ด้านงานวิจัย ด้านบริการวิชาการ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานของภาควิชาฯให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
ปรัชญา
การบริหารศึกษาคือ ความเจริญงอกงาม ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริหารการศึกษาสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองและช่วยให้เกิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมได้
ปณิธาน
ภาควิชาการบริหารการศึกษา มีความมุ่งมั่นในการสร้างและพัฒนาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา ให้เป็นผู้นำทางการศึกษาและผู้นำทางการบริหารการศึกษาที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีบุคลิกภาพ มีความรู้ความสามารถและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
วิสัยทัศน์
ภาควิชาการบริหารการศึกษา เป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพสูงทุกระดับ มีบทบาทเป็นผู้นำทางการบริหารการศึกษา เป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาที่มีความเป็นสากล สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
พันธกิจ
1. ผลิตผู้บริหารการศึกษา ที่เป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการ มีบุคลิกภาพที่ดี มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลทั้งในด้านความรู้ ทักษะ เปี่ยมด้วยความสามารถทางปัญญาในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ มีความใฝ่รู้ ความสามารถในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และเป็นผู้มีสมรรถนะทางการบริหารการศึกษาที่ตรงกับความต้องการของสังคม
2. ส่งเสริมให้มีการผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและนานาชาติและมีงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
3. พัฒนาระบบบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ และประยุกต์ใช้ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
5. ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร และการวิจัย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและสนองตอบความต้องการของสังคมในปัจจุบัน
2. เพื่อสร้างและพัฒนาผู้บริหารการศึกษาที่มีคุณลักษณะเป็นผู้นำทางการศึกษา เป็นนักวิชาการ และเป็นนักวิจัยทางการบริหารการศึกษา
3. เพื่อสร้างสรรค์และเผยแพร่งานวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา
4. เพื่อทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย โดยนำมาประยุกต์ทั้งในการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการบริหารจัดการต่างๆ
5. เพื่อพัฒนาบุคลากรของภาควิชาการบริหารการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
เป้าหมาย
1. การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
2. คณาจารย์จัดทำตำราประกอบการสอนและงานวิจัยตลอดจนร่วมกันพัฒนาสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศิษย์เก่า สถาบันการศึกษาทางการบริหารการศึกษา และสถาบันอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
4. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศของภาควิชาอย่างเป็นระบบ ทันต่อเหตุการณ์และสะดวกต่อการใช้งาน
5. การจัดบริการและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่การจัดการและแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาของระบบการศึกษาไทย
6. คณาจารย์ได้รับการพัฒนาจากการศึกษาดูงานและร่วมประชุมสัมมนาทั้งในและต่างประเทศ
นโยบาย
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงได้กำหนดนโยบาย ดังนี้
1. พัฒนาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิทยาการและเทคโนโลยี
2. ส่งเสริมให้คณาจารย์มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
3. สนับสนุนการทำผลงานทางวิชาการ และการวิจัยของคณาจารย์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และการนำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน
4. ส่งเสริมและพัฒนาให้คณาจารย์และนิสิตได้เสนอหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการแก่สังคม
5. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และเรียนรู้สิ่งใหม่ อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม
6. ส่งเสริมและพัฒนานิสิตให้เป็นผู้ตระหนักในคุณค่าความเป็นไทย โดยร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยในการดำเนินงาน